รายละเอียดเรื่องย่อ/Synopsis นี่คือภาคจบในผลงานไตรภาคที่ว่าด้วยเงินดอลล่าร์ "Dollars Trilogy" ของผู้กำกับชาวอิตาเลี่ยนอย่างแซร์จิโอ ลีออน (สองเรื่องก่อนหน้านี้ก็คือ A Fistful of Dollars (1964) และ For a Few Dollars More (1965) ซึ่งคลิ้น อีสวู้ดส์ก็เล่นมาทุกภาค) ว่าด้วยเรื่องราวของคาวบอย 3 คนที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในการตามหาขุมทอง ชายไร้ชื่อ หรือ บลอนดี้ (The Good) , แองเจล อายส์ (The Bad) และ ทูโก้ (The Ugly) ต่าง มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ ตามหาขุมทองที่ถูกฝังไว้ในสุสานใดสุสานหนึ่ง ณ หลุมศพของใครคนหนึ่ง เมื่อเหตุการณ์บังคับทูโก้กับบลอนดี้จำต้องร่วมมือกั น เพราะฝ่ายหนึ่งรู้ชื่อของสุสานและอีกฝ่ายรู้ชื่อของห ลุมศพ โดยที่แองเจล อายส์ พยายามจะสอดแทรกและหมายมั่นปั่นมือที่จะคว้าทองมาเป็ นของตัวเองให้ได้ คราวนี้ทั้งความดี ความเลว และ ความร้ายกาจ ต่างก็เผชิญหน้ากัน ฆ่าฟันกัน แล้วสุดท้ายใครกันจะเป็นผู้ที่ได้ครอบครองสมบัติมูลค ่ากว่า 2 แสนดอลล่าร์สหรัฐ 1966 คือปีที่หนังเรื่องนี้เข้าฉาย ซึ่งถือว่าเป็นช่วงขาลงของหนังเวสเทิร์นสไตล์ หลังจากที่เฟื่องฟูมานานหลายสิบปี ทั้งนี้นอกจากจะได้ปู่คลิ้นนำแสดงแล้ว IL Buono , IL Brutto , IL Cattivo (ชื่อหนังในภาษาอิตาเลี่ยน) ยังได้ลี แวน คลีฟ และ อีไล วอลเลช มาร่วมแสดงอีกด้วย ตัวหนังถูกจัดเข้าอยู่ในแนวทาง Spaghetti Western ซึ่ง คำๆนี้โผล่ขึ้นมาในช่วงกลางทศวรรษที่ 60 ทั้งนี้ก็เพราะภาพยนตร์ในทางนี้ส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นโ ดยสตูดิโอสัญชาติอิตาลี แถมแรกเริ่มเดิมทีในหนังยังใช้ภาษาของชาวมักกะโรนีพู ดซะเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะเด่นๆของสปาร์เก็ตตี้เวสเทิร์นก็คือ ใช้ทุนสร้างต่ำ มีความรุนแรงทั้งภาพและคำพูด บางทีก็หาความสวยงามทางศิลปะไม่ค่อยได้ แต่อย่างไรก็ตามหนังเรื่องนี้ก็ได้รับเสียงสะท้อนกลั บในหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่จะส่งเสียงชื่นชมและก็มีบ้างที่ตำหนิติติง โรเจอร์ อีเบิร์ต นักวิจารณ์หนังชื่อดังจากหนังสือพิมพ์ Chicago Sun-Times ไม่ลังเลใจสักนิดที่จะใส่ชื่อของหนังเรื่องนี้ในทำเน ียบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ตลอดกาลของเขา พร้อมทั้งหล่นความเห็นไว้ว่า "นี่คือหนังที่คู่ควรกับตำแหน่งสี่ดาว แต่ผมคงจะให้แค่สามดาวเท่านั้นแหละ อาจจะเพราะว่ามันเป็น Spaghetti Western และ ไม่มีความเป็นศิลปะเท่าไหร่นัก" ความดีความชอบทั้งปวงที่ส่งให้หนังยอดเยี่ยมที่สุดตล อดกาลในความคิดของ เควนติน ทาเรนติโน่ เรื่องนี้ กลาย เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่เราควรดูสักครั้งก่อนตาย คงจะต้องยกให้กับแซร์จิโอ ลีออน แต่เพียงผู้เดียว เพราะเขาคนนี้มีความพิถีพิถันในทุกฉาก ภาพถ่ายมุมกว้างเขาก็ทำราวกับว่ากำลังวาดภาพวิวทิวทั ศน์อยู่อย่างนั้น และ หนึ่งในฉากที่ยังคงเป็นที่พูดถึงคงจะหนีไม่พ้น ซีนที่ตัวละครนำทั้งสามต้องมาเผชิญหน้ากันที่สุสาน เสียงดนตรีประกอบ ร่วมทั้งการตัดต่อที่ฉับไวไปยังใบหน้าของนักแสดงรวมไ ปถึงมือที่ขยับจับปืน ยังคงสร้างความตื่นเต้นให้ทุกครั้งที่ได้ดู มี ใครบางคนเคยบอกเอาไว้ว่า หนังก็เป็นเหมือนมนุษย์คนหนึ่ง ที่มีทั้งด้านดีและไม่ดี ไม่มีใครที่เกิดมาดีร้อยเปอร์เซ็นต์หรือสมบูรณ์แบบใน ทุกส่วนสัด อยู่ที่ว่าจะมีด้านสว่างหรือมืดมากกว่าก็เท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ เราก็ขอบอกว่า The Good , The Bad and The Ugly คงจะมีด้านขาวมากกว่าดำและอยู่ในมุมที่สว่างมากกว่าเ งามืด อย่างไม่ต้องสงสัย